วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4

 การเรียนการสอน

  - อาจารย์แจกกระดาษและให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ที่เป็นสัญลักษณ์ของตัวเองพร้อมเขียนชื่อจริงกำกับ แล้วให้คนที่มาก่อนเวลา 08.30 น.นำเอาบัตรภาพของตัวเองไปแปะบนกระดาน

ฉันได้วาดรูป 


  - อาจารย์อธิบายการแบ่งกลุ่มโดยใช้เวลาเป็นเกณฑ์และการจัดลำดับเพื่อนำไปใช้กับเด็ก โดยให้เด็กเห็นชัดเจน

ขอบข่ายคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
   นิตยา   ประพฤติกิจ.2541:17-19


1.  การนับ  (Counting)
2.  ตัวเลข  (Number)
3.  การจับคู่  (Matching)
4.  การจัดประเภท  (Classification)
5.  การเปรียบเทียบ  (Comparing)
6.  การจัดลำดับ  (Shape and space)
7.  รูปทรงและเนื้อที่  (Shape)
8.  การวัด  (Measurement)
9.  เซต  (Set)
10.  เศษส่วน  (Fraction)
11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (Patterning)
12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (Conservation)


   - อาจารย์ให้จับคู่ทำงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3

การเารียนการสอน

- อาจารย์ได้ให้หาข้ิอมูลมาจากสัปดาห์ที่แล้ว และให้จับกลุ่ม 3 คน วิเคราะห์ และพูดให้อาจารย์ฟัง

-สำหรับกลุ่มดิฉัน

   คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ของการคิดคำนวณ การวัด คือเลขคณิตศาสตร์ พีชคณิต ตรีโกณมิติและเรขาคณิต มีการใช้สัญญาลักษณ์ทางคณิศาสตร์ เปนภาษาทางสากล
  คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่แสกงความคิดที่เป็ปนระเบียบ มีเหตุผล มีวิธีการ และหลักการ เพื่อให้สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชนฺแก่ตนเองและประเทศชาติได้มากมาย

- และอาจารย์ได้สอนนักศึกษาร้องเพลง เพื่อใช้ในการเรียกเด็กเข้ากลุ่ม

เนื้อเพลงที่ใช้ในการเรียกเด็กเข้ากลุ่ม

กลุ่มไหน กลุ่มไหน      รีบเร็วไว หากลุ่มพลัน
อย่ามัวรอช้า               เวลาจะไม่ทัน
ระวังจะเดินชนกัน       เข้ากลุ่มพลันว่องไว



วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2

การเรียนการสอน

        วิธีการแบ่งกลุ่มของเด็กสามารถแบ่งได้ตามนี้

1.  นับเลข 1 – 2
2. จับฉลาก
3. แยกเพศ
4. ความยาวของเส้นผม (โดยตั้งเกณฑ์การวัด)
5.  ตามวันเกิด ( อา – ส ,วันที่ หรือ เดือนเกิด)

 - การคำนวณของเด็กปฐมวัย ครูจะต้องมีการแสดงให้เด็กเห็นถึงรูปจริงๆ หรือวางให้เห็นว่าสิ่งไหนเล็กกว่า - ใหญ่กว่า , สั้นกว่า - ยาวกว่า  หรือการเกติมให้เต็มในจำนวนนั้นๆ
 -  เด็กปฐมวัย  อายุตั้งแต่  แรกเกิด - 2 ปี   =  จะมีการเรียนรู้และซึมซับสิ่งต่างๆ โดยการใช้ประสาทสัมผัส  และเก็บข้อมูลสิ่งเหล่านั้น แต่วัตถุนั้นๆต้องมีตัวตน มีมิติ  หยิบจับ  ถูกต้องได้  มีการหมุนรอบทิศได้  เช่น ครูจะต้องใช้สื่อการสอนที่เป็นของจริง หรือจำลอง  ให้เด็กสามารถจับต้องได้

 -   การใช้ภาษากับคณิตศาสตร์จะต้องควบคู่กับไป คือ
          1.  ภาษาจะเป็นตัวทำให้คณิตศาสตร์สะท้อนออกมา
          2.  มีการใช้ภาพ

-   การที่ครูจะจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้  ครูสามารถจัดได้ตลอดเวลา เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็

กิจกรรม  
ให้นักศึกษาไปห้องสมุดแล้วหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อดังนี้
     1. สำรวจรายชื่อหนังสือคณิตศาสตร์ 
     2. หาความความหมายของคณิตศาสตร์ มา 1 คน ( ชื่อผู้เขียน,หน้า,ชื่อหนังสือ,พ.ศ)
     3. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
     4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธิการสอนคณิตศาสตร์
     5. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาของคณิตศาสตร์







วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 1

การเรียนการสอน

- >การเข้าเรียนครั้งแรก อาจารย์ได้พูดเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา ควรแต่งกายให้ถูกระเบียบ รองเท้าสีดำ และควรแต่งกายให้สมกับที่เรียนครู

 ->    อาจารย์จะไม่ว่าเรื่องเครื่องแต่งกาย แต่อาจาย์จะสังเกตุและตัดคะแนนเอง


  ->   อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าเรียน 9 โมงตรง ห้ามเข้าช้าเกินกว่านั้น ถ้าเข้าช้า ถือว่าเข้าเรียนสาย และถ้าเข้าเรียนสายเกิน 15 นาที ถือว่าขาดเรียน


  -> อาจารย์ให้นักศึกษาตอบคำถาม 2 คำถามลงกระดาษคำตอบ ว่าคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามความเข้าใจของนักศึกษาคืออะไร และ คาดหวังอะไรกับวิชาที่เรียนนี้


  ->  อาจารย์อธิบายวิชาที่เรียนว่าหมายถึงอะไร


   -> ทักษะคือไร ?  พัฒนาการคืออะไร ? การเรียนรู้คืออะไร ?