วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่16

 

กิจกรรมการเรียนการสอน

อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม โครงการส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว ที่ลานแดง



สอบสอน กลุ่มที่3 หน่วยธรรมชาติ...(ทเลแสนงาม)


วิธีการสอน

1ใช้คำถาม เด็กๆเคยไปเทียวทะเลไหมมค่ะ แล้วที่ทะเลมีอะไรบ้าง
2ใช้นิทานเป็นสื่อการสอน เรื่องทะเล

สอบสอน กลุ่มที่4 หน่วย...ผม

วิธีการสอน

วันจันทร--ชนิดของผม

1นำเพลงมาสอนเด็ก เอามือจับผม จับไหล่ จับหัว ถามเด็กว่าตอนนี้เด็กๆกำลังจับอะไรอยู่
2จุดมุ่งหมายคือ อยากให้เด็กรู้เรื่องผมและการดูแลผม
3แตก map ของผม
4สอนลักษณะของผม
5การเปรียบเทียบผม ชนิดของผม
6การนำเสนอข้อมูล
-ลักษณะของผม/ผมตรง/ผมหยิก...
-หน้าที่ของผม
-อาชีพ
-วิธีการดูแลรักษา

ครั้งที่15


กิจกรรมการเรียนการสอน
- สอบสอน กลุ่มที่ 2 หน่วย.... ต้นไม้

วันจันทร์ : ชนิดของต้นไม้

- ครูต้องเปิดประเด็น (นำเข้าสู่บทเรียน)
- ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก "เด็กๆบอกคุณครูสิว่าที่บ้านปลูกต้นไม้อะไรบ้างค่ะ?"
- การสอนของครู คือ การนำต้นไม้จริงมาให้เด็กๆได้เห็นภาพจริง และสามารถสัมผัสกับสิ่งนั้นได้
ต้นไม้ที่ครูนำมามี 2 ประเภท คือ ต้นไม้ยืนต้น (มะขาม) และต้นไม้ล้มลุก (ผักชี)
- ให้เด็กๆลองแยกประเภท ก็จะได้ ต้นเล็กกับต้นใหญ่ >> ขนาดของลำต้น
- ครูจะสอนต่อว่า "ต้นไม้ยืนต้นนั้นมีลักษณะอย่างไร?" และ "ต้นไม้ล้มลุกมีลักษณะอย่างไร?"

วันอังคาร : ลักษณะของต้นไม้

- ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นและทบทวนความรู้และเรื่องที่เด็กเรียนไปแล้วเมื่อวาน "เมื่อวานเด็กๆรู้จักต้นไม้อะไรบ้งค่ะ? และประเภทไหนบ้าง?"
- คุณครูนำต้นมะขามและต้นผักชีขึ้นมาให้เด็กๆสังเกต (การให้เด็กสังเกตต้องให้ดูทีละชนิดเท่านั้น)
- สิ่งที่เด็กๆต้องสังเกต เช่น ราก ใบ ลำต้น >> แล้วให้บอกความแตกต่างของต้นไม้ทั้งสองต้น
- เขียนผัง แสดงการวิเคาระห์และเปรียบเทียบ

วันพุธ : ส่วนประกอบของต้นไม้
 
- วันนี้คุณครูมีส่วนประกอบของต้นไม้มาให้เด็กๆดู (ครูมีรูปภาพให้เด็กๆดู)
- เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบต่างๆของต้นไม้มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง? ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
- ครูอาจจะยกตัวอย่างการเปรีบเทียบต้นไม้กับคน เช่น ราก = ปาก
- ''ครูถามเด็กๆว่าเด็กๆอยากปลูกดอกไม้อะไร?'' ครูนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ
- หลังจากที่ครูนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ แล้วใช้ตัวเลขกำจับจำนวน หรือใช้คำว่ามากกว่า หรือน้อยกว่า
 
วันพฤหัสบดี : ประโยชน์ของต้นไม้

คุณครูใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเพื่อให้เด็กๆทราบถึงประโยชน์ของต้นไม้

วันศุกร์ : อันตรายจากต้นไม้

- ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดของเด็กๆ "เด็กๆบอกคุณครูสิว่าเด็กๆเคยได้รับอันตรายจากต้นไม้ไหม?"
- ครูบอกข้อระวังต้นไม้บางประเภทที่ถ้าเข้าใกล้แล้วจะเกิดอันตราย เช่น ต้นไม้มีพิษ
- ครูอาจมีภาพที่เด็กได้รับอันตราย เช่น ต้นไม้หักหล่นทับ ตกต้นไม้
- ครูอาจพาเด็กๆออกไปสำรวจต้นไม้ในโรงเรียน


หมายเหตุ

ทำ Mind Mapping มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ลง Blogger

ครั้งที่14


กิจกรรมการเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามหน่วยที่ตนเองได้รับผิดชอบ

เริ่มจากกลุ่มแรกคือหน่วยดิน ในการสอนทักษะเนื้อต่างๆยังไม่สมบรูณ์มากนัก อาจารย์ได้ช่วยแนะนำเทคนิควิธีการสอนว่าต้องทำอย่างไรเพื่อที่นักศึกษาจะนำไปใช้ได้ถูกต้องและถูกวิธี ในการสอนของแต่ละหน่วยต้องมีการบูรณาการมาตรฐานคณิตศาสตร์เข้าไปอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อที่กลุ่มต่อไปเลาออกมานำเสนอจะได้ถูกต้อง

หน่วยดิน

-วันจันทร์สอน ประเภทของดิน


ประเภทของดิน

-วันอังคารสอน ลักษณะของดิน


ลักษณะของดิน


 -วันพุธสอน ในเนื้อดินมีอะไรบ้าง

-วันพฤหัสบดีสอน ประโยชน์ของดิน

-วันศุกร์สอน ข้อควรระวังเกี่ยวกับดิน

ครั้งที่13

 
กิจกรรมการเรียนการสอน

ให้ทำสาระสำคัญในหน่วยการเรียนรู้ที่ตัวเองสร้างขึ้น ให้แยกออกเป็น 5 วัน

(จันทร์ - ศุกร์)จากที่แยกสาระสำคัญออกเป็น 5 วัน

แล้วให้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนด้วย
พัฒนาการทางสติปัญญา
เด็กเล็ก : ใช้ของจริงแทนภาพ (เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
เด็กโตขึ้นมาหน่อย : ใช้ภาพและคุณครูเขียนขึ้นกระดาน
เด็กโต : ใช้ตัวเลขกำกับจำนวน

หลักในการเลือกหน่วยการเรียนรู้ให้กับเด็ก สิ่งที่ควรคำนึง
1. ใกล้ตัวเด็ก
2. มีผลกระทบกับเด็ก
3. ในชีวิตประจำวันของเด็ก

การแยกกลุ่ม จัดอยู่ใน มฐ. 1 การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
ช่วงความสนใจของเด็ก = 20 - 25 นาทีเพียงเท่านั้น!!!
จังหวะที่เหมาะกับนิทาน คือ การพูดถึงประโยชน์ในสิ่งที่จะสื่อให้เด็กได้รู้
การชั่งน้ำหนักด้วยกิโล = ต้องแสดงออกเป็นตัวเลขที่แน่ชัด และเท็จจริง
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2556 Present การแยกสาระสำคัญในหน่วยต่างๆออกมาบูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัย

ครั้งที่ 12



17 มกราคม 2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

- อาจารย์ได้มอบหมายงานให้อ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คนละ 1 เรื่อง
- สร้างกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับหน่วยสาระที่ตัวเองสร้างขึ้น Present 24 มกราคม 2556
- สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
Ex. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยมีตะเกียบเป็นสื่อในการเรียนรู้
การสอนเลขฐานสิบ



** เด็กๆจะเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือกระทำกับวัตถุ **

** การที่ครูจะจัดกิจกรรมใดๆให้กับเด็กๆก็ตาม ต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
มีผลกระทบกับเด็ก เช่น กิจวัตรประจำวัน **

- สาระสำคัญ + ประสบการณ์สำคัญ = การจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ
- สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
1. สาระสำคัญ
2. ประสบการณ์สำคัญ
3. บูรณาการ
- พัฒนาการเป็นเป้าหมาย ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
สรุปองค์ความรู้ที่เรียนในวันนี้

จากการจัดกิจกรรมข้างต้น เด็กเกิดการคิดรวบยอด (concept) ว่า "ตัวเลขหลักหน่วยจะเพิ่มขึนเรื่อยๆ เมื่อจำนวนนั้นครบ 10 ถ้าครบ 10 แล้วก็ปัดจำนวนไปหลักข้างหน้าเสมอ"

หมายเหตุ
งานที่ได้รับมอบหมาย ผลิตเครื่องมือวัดแบบต่างๆ